ยอ ปลูกทำอาหารก็ได้ทำยาก็ดี

ยอ หรือ ยอบ้าน

ยอ หรือ ยอบ้าน  เป็นต้นไม้เขตร้อน พบว่ามีการนำลูกยอมาทำอาหารมานานกว่า 2000 ปีแล้ว  ต้นยอในธรรมชาติพบได้ทั่วไปทั้งในป่าทึบหรือตามชายฝั่งทะเลที่เป็นโขดเขาหรือพื้นทราย  เมื่ออายุประมาณ 1ปีครึ่งก็เริ่มออกลูก ในตำรายาไทยจัดผลยอเข้าในกลุ่มพิกัดยาที่นิยมใช้บ่อยๆ ชื่อว่า  พิกัดตรีผลสมุฎฐาน  ประกอบด้วยผลมะตูม ผลยอ และผลผักชีลา มีสรรพคุณใช้แก้สมุฎฐานแห่งตรีโทษ ขับลมต่างๆ แก้โรคไตพิการ

ต้นยอ
สรรพคุณทั่วๆ ไปของยอ
รากของต้นยอ ใช้เป็นยาระบาย แก้ท้องผูก
ใบยอ รสขมเฝื่อน สรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ไข้ ฆ่าเหา ปวดข้อ คั้นน้ำทาแก้โรคเกาต์ แก้ท้องร่วงในเด็ก แก้เหงือกบวม คั้นน้ำทาแก้แผลเรื้อรัง แก้กษัย ผสมกับตัวยาอื่นๆ ใช้แก้วัณโรค
ผลยอดิบหรือผลแก่ รสเผ็ดร้อน สรรพคุณขับลม บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับโลหิต ระดูของสตรี ฟอกเลือด แก้คลื่นเหียนอาเจียน ผสมยาแก้สะอึก อมแก้เหงือกเปื่อย แก้เสียงแหบแห้ง แก้ร้อนในอก
ผลยอสุก มีกลิ่นฉุน สรรพคุณผายลมในลำไส้
ต้นยอ ใช้เป็นส่วนผสมกับสมุนไพรอื่นใช้ทำยารักษาวัณโรค
ดอกยอ เป็นส่วนผสมของสมุนไพรตัวอื่นใช้รักษาวัณโรค

ต้นยอ
การนำยอมาทำอาหาร บางพื้นที่ของหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกนิยมกินผลยอเป็นอาหารหลัก  ส่วนใหญ่นิยมกินผลยอดิบจิ้มเกลือหรือปรุงกับผงกะหรี่  เมล็ดของยอนำมาคั่วสามารถรับประทานได้ ส่วนในประเทศไทยนิยมนำผลยอสุกมาจิ้มเกลือหรือกะปิรับประทาน  ลูกห่ามของยอสามารถใช้ทำส้มตำได้ ใบอ่อนของยอนำมาลวกกินกับน้ำพริกหรือใช้ทำแกงจืดแกงอ่อมและผัดไฟแดง แต่ที่พบเห็นบ่อยๆ คือนำมาใช้รองกระทงทำห่อหมก 
ยอ
สารสำคัญในลูกยอ พบว่าในลูกยอมีคุณค่าทางสารอาหารสูง มีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี  และธาตุโปแตสเซียมสูง พบว่าในลูกยอมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยชะลอการแก่ของเซลล์และต้านมะเร็งได้ ในปัจจุบันจึงพบผลิตภัณฑ์น้ำลูกยอซึ่งนำผลยอสุกมาคั้นแปรรูปวางขายในหลายรูปแบบ
ต้นยอ
การนำยอมาใช้รักษาโรค
วิธีการใช้ยอในงานสาธารณสุขมูลฐานรักษาอาการอาเจียน  โดยนำผลยอดิบที่โตเต็มที่แล้วมาฝานเป็นแผ่นบาง ๆ จากนั้นตากให้แห้ง แล้วคั่วในกระทะด่วยไฟอ่อนๆ จนแห้งเกรียมแล้วนำไปบดเป็นผง  เวลาใช้ให้ตักผงยอประมาณ 20 กรัมแช่ในน้ำเดือด 1 ลิตรประมาณ 15 นาที กรองเอาแต่น้ำใส่กระติกน้ำร้อนไว้ จิบบ่อยๆครั้งละประมาณ 30 มิลลิลิตร ทุก 2 ชั่วโมง เวลาที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

ใบสดของยอใช้ต้มน้ำดื่มหรือนำมาบดตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ใช้แก้กระษัย แก้ปวดเมื่อยตามข้อมือข้อเท้า แก้ท้องร่วง ลดไข้ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้โรคเบาหวาน ป้องกันโรคในระบบหัวใจ  หลอดเลือด และแก้โรคมะเร็ง
ติดตามสาระดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://tourthai.online

สำหรับนักเรียนแพทย์แผนไทย มีสื่อการเรียนการสอนตัวยาสมุนไพแห้งประมาณ  90 รายการ บรรจุในซองมีชื่อและสรรพคุณของสมุนไพรนั้นๆ ช่วยให้ท่องจำง่ายขึ้น เพื่อใช้ในการเรียนและเตรียมสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรมแผนไทย จำหน่ายในราคาชุดละ 600 บาท รวมค่าจัดส่ง 

สามารถสั่งซื้อได้ที่ โทรศัพท์  089-025-9929  โดยโอนเงินเข้าบัญชี คุณศักดิ์เพ็ชร เรืองแพ ธนาคารกรุงเทพ สาขาท่าชนะ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 450-020-0177

ผู้เขียน  ศักดิ์เพ็ชร เรืองแพ เลขที่ใบประกอบโรคศิลปะ บภ.๑๖0๕๗

ความคิดเห็น