รู้ได้อย่างไรว่า โซล่าเซล ผลิตไฟฟ้าได้มากน้อยแค่ไหน

คำถามที่มีมาถามผมแทบทุกวัน เลยคือ บ้ามผม/ฉัน ต้องใช้แผงโซล่าเซลเท่าไรดี หรือจะติดตั้งเท่าไรดี จริงๆแล้วผมก็เข้าใจนะครับ ก็คนไม่รู้ จะให้รู้ได้อย่างไรว่าที่บ้านของเขาจะต้องใช้แผงขนาดไหน ใช้เท่าไร ติดตั้งโซล่าเซลแล้วจะคุ้มค่าไหม ก็ของมันไม่เคนเห็น ไม่เคยรู้จัก แค่เคยได้ยินมา จะให้เข้าใจทะลุปรุโปร่ง มันเป็นไปไม่ได้แน่ๆ

จริงๆแล้วอยากจะบอกว่า จริงๆ แล้วที่แผงหรือฉลากโซล่าเซลที่มาตรฐานจะบอกค่าต่างๆ ไว้เรียบร้อยเบ็ดเสร็จแล้ว แต่มันเป็นศัพท์เฉพาะเห็นแล้วก็ไม่รู้เรื่องอยู่ดี ว่ามันคืออะไร งั้นเรามาดูกันว่าที่แผงของโซล่าเซล หรือที่ฉลากกล่องบรรจุภัณฑ์มันบอกอะไรให้เรารู้บ้าง

ถ้าเป็นแผงมาตรฐานแบบคริสตัลไม่ว่าชนิด โมโนคริสตัล หรือ โพลี่คริสตัล อันแรกที่เห็นชัดเจนเลยคือ 12vDC แล้วก็มีตัวเลขตามด้วยตัว W เช่น 12VDC120W การเขียนตัวเลขเหล่านี้ของแต่ละบริษัทผู้ผลิตแผงโซล่าเซลอาจเรียงแตกต่างกันบ้าง แต่ก็มีความหมายเดียวกันครับ โดยแปลได้ดังนี้

12VDC หมายถึง โซล่าเซลแผงนั้นผลิตไฟฟ้าออกมาเป็นไฟระบบ ไฟฟ้ากระแสตรงชนิด12 โวลท์ (ก็ที่ใช้กับแบตเตอรี่ทั่วๆไป นั่นแหละครับ)

120W หรือ 120W/h  120W/hr หรืออะไรก็ตามที่คล้ายกัน หมายความว่า แผงโซล่าเซลแผงนั้นสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดเมื่อได้รับแสงแดดเต็มที่ 120 วัตต์ต่อชั่วโมง อันนี้ต้องทำความเข้าใจนิดนึงนะครับว่าต่อชั่วโมง เช่นถ้าแผงโซล่าเซลได้รับแสงแดดเต็มที่ 5 ชั่วโมงเราก็จะได้ไฟฟ้าเท่ากับ 120วัตต์ คูณ 5 ชั่วโมง ก็จะได้ไฟฟ้ารวมเป็น 600 วัตต์ ถ้าตัวเลขหน้าตัว W   เป็นเลขอะไรก็ตามก็จะหมายถึงความสามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดเท่าตัวเลขนั้นต่อชั่วโมง

ทีนี้ก็จะมีปัญหาตามมาอีกเมื่อหลายท่านซื้อแผงไปใช้แล้ว ปรากฎว่าเวลาเอาแผงโซล่าเซลไปตากแดดจริงๆ กลับปรากฎว่าไฟฟ้าที่ออกมาวัดได้มากกว่า 12 โวลท์(ซึ่งเป็นเรื่องปกติมากๆ) บางทีก็กระโดไปถึง 18-21 โวลท์ หรือแดดจัดมากๆก็อาจจะมากกว่านั้นอีก กลัวจะเป็นอันตรายกับแบตเตอรี่เพราะรู้ว่าเป็นแค่ระบบ 12 โวลท์เท่านั้นเอง

เรื่องนี้จริงๆ ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวลหรือตกใจเลย ถ้าคุณอ่านบนฉลากของแผงโซล่าเซลหรือฉลากของกล่องอีกนิดนึง มันจะมีตัวเลขเขียนบอกว่า Max18v บ้าง Max21v หรือตัวเลขอื่นๆ หรือเขียนใกล้เคียงกัน นั้นแสดงว่าโวลท์ที่กระแสไฟฟ้าที่โซล่าเซลผลิตได้ สามารถสร้างโวลท์สูงสุดได้มากถึงเท่าตัวเลขนั้นๆ โวลท์

เรื่องนี้มีคำอธิบายที่จำเป็นต้องรู้นิดนึงนะครับ คือ ไฟฟ้าก็คล้ายน้ำ คือจะไหลจากที่สูงไปที่ต่ำโดยธรรมชาติ ไม่เชื่อคุณลองยกแก้วน้ำขั้นมาเทซิครับ น้ำจะไหลจากแก้วลงพื้นแน่ๆ และง่ายๆ ด้วย แต่ไม่มีทางที่น้ำจากพื้นจะไหลขึ้นมาบนแก้วด้วยวิธีง่ายๆ เว้นคุณจะไปกระทำบางสิ่งบางอย่างกับมัน พลังงานไฟฟ้าก็เช่นเดียวกัน มันสามารถไหลจากที่ที่มีความต่างศักย์(โวลท์)สูงกว่าไปสู่ที่ที่มีความต่างศักย์(โวลท์) ต่ำกว่าได้อย่างง่ายๆ ถึงแม้ว่าที่ที่มีความต่างศักย์(โวลท์)ต่ำนั้นจะมีจำนวนประจุไฟฟ้ามากกว่ามากก็ตาม ก็เช่นเดียวกับคุณเทน้ำจากแก้วลงแม่น้ำนั่นแหละ น้ำในแม่น้ำจำนวนมหาศาลไม่มีทางที่ไหลเข้ามาในแก้วได้เลย(ตามธรรมชาติ) แต่น้ำในแก้วที่มีอยู่น้อยนิดสามารถไหลไปเติมปริมาณน้ำในแม่น้ำให้เพิ่มขึ้นอีกได้อย่างง่ายดาย

ดังนั้นเป็นเรื่องปกติครับ ที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลจะได้โวลท์ที่มากกว่า 12 โวลท์มาก ไม่อย่างนั้นไฟฟ้าจะไหลไปเก็บในแบตเตอรี่ง่ายๆ ได้อย่างไร จริงไหมครับ และด้วยเรื่องโวลท์ที่แตกต่างนี่แหละครับ ที่ทำให้หลายๆคนที่ชอบประหยัดแผงโซล่าเซลพังกันมาแล้วมากมาย รู้ไหมว่าทำไมแผงโซล่าเซลของเขาเหล่านั้นถึงพังหรือเสียหายครับ ถ้าไม่รู้ก็ตามกันมาอ่านอีกนิด

เรารู้แล้วว่าไฟฟ้าไหลจากที่มี โวลท์สูงไปสู่ที่ที่มีโวลท์ต่ำได้อย่างง่ายดาย เป็นเรื่องปกติธรรมดา เมื่อโซล่าเซล มีแสงมากระทบ มันย่อมสร้างพลังงานไฟฟ้าออกมา และก็จะมีโวลท์ที่สูงกว่าแบตเตอรี่อยู่แล้ว คุณไม่ต้องทำอะไรให้วุ่นวายมาก ไฟฟ้าก็จะไหลไปเก็บที่แบตเตอรี่ได้อย่างง่ายดายอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดฟ้าครึ้ม ฝนตกหรือไม่มีแสงสว่างละ ก็เป็นธรรมดาที่ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของโซล่าเซลก็ต้องลดลง ถ้าโวลท์ที่แผงโซล่าเซลผลิตไฟฟ้าได้ยังคงสูงกว่าแบตเตอรี่ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเกิดมีโวลท์ต่ำกว่าแบตเตอรี่ละ อะไรจะเกิดขึ้น ง่ายๆ ก็ไฟจากแบตเตอรี่ไหลกลับมาที่แผงโซล่าเซลนะซิ ไฟฟ้าไหลกลับ มันก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา ก็เหมือนน้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ แต่โซล่าเซลมันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีไฟเข้า มันถูกสร้างมาให้มีไฟออกได้อย่างเดียว

ถ้าอ่านบล็อกก่อนหน้านี้ ก็เหมือนกับที่ผมยกตัวอย่าง วัวที่กินหญ้าแล้วก็ขี้ออกมา แต่ถ้าเราขืนเอาขี้วัวใส่กลับเข้าไปในวัวตัวนั้นอีกครั้ง  อะไรจะเกิดขึ้นกับวัว โซล่าเซลก็เหมือนกันกับสถาพของวัวที่เราเอาขี้วัวใส่กลับเข้าไปในตัววัวนั่นแหละครับ เพียงแต่ความเสียหายที่เกิดกับแผงโซล่าเซลเรามองไม่เห็น และไม่ได้เกิดแบบรุนแรงเฉียบพลัน แต่มันก็ทยอยเสียหายไปทีละนิดๆ เหมือนวัวที่สุดท้ายก็คงต้องตายถ้าคุณขืนเอาขี้วัวใส่กลับเข้าไปในท้องวัวใหม่  รู้แล้วอย่านี้ ถ้าคุณเป็นเจ้าของวัวหรือแผงโซล่าเซล  จะปล่อยให้มันเกิดขึ้นไหมละครับ

บทความโดย
ศักดิ์เพ็ชร เรืองแพ 
 
กรีนพาวเวอร์

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
ขอบคุณนะคะ ได้ความรู้มากเลยค่ะ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ขอโทษลืมลิงค์
http://www.tpengtech.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-Solar-On-Grid-Tie/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A-Solar-On-Grid-Tie-300W.html
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
สอบถามว่าทำไมเว็ปนี้คำนวนค่าไฟจากวัตต์ของแผงโซล่า(285w)ได้น้อยจัง ถ้าตากแดดดีๆ6ชม.น่าจะได้ 285×6=1,710w /วัน น่าจะแปลงเป็นค่าไฟได้ ประมาณ10หน่วย/วัน แต่เคเาได้1.7หน่วย/วัน ช่วยอธิบายให้หน่อยึรับเพราะสนใจระบบออนกริดมาก หรือว่าใช้แผงโซล่าคนละชนิดกัน
www.rkatour.com กล่าวว่า
285×6=1,710w /วัน ก็เท่ากับ 1.7หน่วย/วัน เพราะ 1 หน่วยเท่ากับ 1000 วัตต์ ก็ถูกแล้วนี่ครับ