ใช้โซล่าเซล (มีไฟฟ้าใช้แล้ว) คุ้มไหม

 ใช้โซล่าเซล คุ้มไหม เป็นอีกหนึ่งคำถามที่ผมมักได้ยินเสมอ จริงๆ แล้วคุ้มไม่คุ้มมันอยู่ที่ความคิดของเราเองนั่นแหละครับ แต่สำหรับตัวผมเองผมว่าคุ้มค่ามากๆ ผมถือว่าเป็นพลังงานสะอาด ปราศจากมลภาวะ มีไฟฟ้าให้ใช้แน่นอนทุกวัน แต่จะได้ไฟฟ้ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายเหตุหลายปัจจัย  เดี๋ยวนี้โซล่าเซลมีคุณภาพที่สูงขึ้นมากแต่ราคากลับถูกลง จนทุกคนสามารถเข้าไปจับต้องซื้อมาใช้สอยได้ง่ายๆ เรียกว่าโซล่าเซลไม่ใช่สิ่งที่อยู่ไกลเกินเอื้อมแล้วในปัจจุบันนี้ และถึงแม้ว่าบ้านของเราจะมีไฟฟ้าใช้แล้วผมก้ว่าโซล่าเซลก็ยังคุ้มค่ากับการซื้อมาใช้งาน นี้ยังไม่นับในส่วนของพื้นที่ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้นะครับอย่างนั้นคุ้มค่ามากแน่ๆ อย่างไม่ต้องอธิบาย ตามมาดูกันครับ ว่าถ้าใช้โซล่าเซล แล้วมีความคุ้มค่าอย่างไร

ทุกคน(ส่วนใหญ่) มักมองอะไรสั้นๆ มองแค่วันนี้พรุ่งนี้ เช่นซื้อโซล่าเซลขนาดมาตรฐาน เน้นการใช้งานจริงจัง ลงทุนเกือบ 40,000 บาท มองว่าแพงมาก ทั้งๆที่ยังไม่ได้พิจารณาข้อเท็จจริงเลย ตามมาครับผมจะอธิบายและยกตัวอย่างให้อ่านแบบเห็นภาพเลยทีเดียว

สำหรับบ้านที่มีไฟฟ้าใช้แล้ว คุณรู้หรือไม่ครับ เดี๋ยวนี้โซล่าเซลไม่จำเป็นต้องเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแบตเตอรี่แล้ว สามารถใช้อินเวอร์เตอร์ชนิดออนกริดแปลงไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลแล้วแปลงเป็นไฟฟ้าแบบไฟบ้านส่งขึ้นไปฝากเก็บไว้บนสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าได้เลยโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการฝากไฟฟ้า(ฟรี) ต้องการจะใช้ไฟฟ้าที่เราฝากไว้เมื่อใดก็ดึงกลับมาได้เลย เหมือนกับที่เราเอาเงินไปฝากธนาคารไว้ อยากถอนเงินตอนไหนก็เอาเอทีเอ็มกดออกมานั่นแหละครับ

ดังนั้นถ้าเราลงทุนสร้างโซล่าเซลแบบมาตรฐานเพื่อผลิตไฟฟ้าที่ระบบ 250 วัตต์/ชั่วโมง แปลงไฟด้วยเครื่องแปลงไฟขนาดเล็กฝากไฟฟ้าที่ผลิตได้เก็บไว้บนสายส่งของการไฟฟ้า (เรื่องนี้ผมจะมาเขียนรายละเอียดอีกครั้ง) เราจะมีค่าใช้จ่ายประมาณดังนี้

 แผงโซล่าเซลขนาด120 W ราคาแผงละ 12,000 บาท จำนวน 2 แผง เป็นเงิน 24,000 บาท
2  อินเวอร์เตอร์ชนิดเชื่อมต่อสายส่งขนาดเล็กมาก ขนาด 250 วัตต์ ราคา 12,800 บาท
3 สายไฟเดินในระบบประมาณ 1,500 บาท(ใช้สายไฟโซล่าเซล ถ้าใช้ไฟทั่วไปก็ราคาประมาณ 300 บาท)
รวมค่าใช้จ่ายเบ็ดเสร็จพร้อมใช้งาน 38,300 บาท

เราลงทุนกับโซล่าเซลแบบมาตรฐานเพื่อแปลงไฟฟ้าฝากเก็บไว้บนสายส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้า มีอุปกรณ์เท่านี้จริงๆ ไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่ม เป็นระบบที่ติดตั้งง่ายมากๆ แถมยังสะดวกเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีความซับซ้อนซ่อนเงื่อนให้น่าปวดหัว ไม่ต้องการการดูแลรักษา (นอกจากถ้าแผงสกปรกมากๆ ก็เอาผ้าชุบน้ำไปเช็ดฝุ่นซะบ้าง) เราลงทุนประมาณ 38,300 บาท  เราสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 240  วัตต์ต่อชั่วโมง ถ้าใน 1 วัน มีแสงแดดเฉลี่ยที่ 7 ชั่วโมง เราก็สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 1,680 วัตต์ต่อวัน แต่อย่าลืมว่าคุณลงทุนครั้งเดียวใช้งานได้ร่วม 30 ปี หรือมากกว่า

ทีนี้เรามาดูว่าถ้าคุณใช้ไฟฟ้าขนาดเดียวกัน  ของการไฟฟ้า คุณต้องเสียค่าไฟฟ้าเท่าไร
ปัจจุบันค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 3.36 บาท/หน่วย (1,000 วัตต์)
ปัจจุบันค่า FT  อยู่ที่ 0.3 บาท/หน่วย (1,000 วัตต์)
ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% อยู่ที่ 0.256 บาท/หน่วย (1,000 วัตต์)
สรุป ถ้าคุณใช้ไฟฟ้า 1 หน่วยหรือ 1,000 วัตต์ คุณต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสุทธิ  เป็นเงิน
3.36+0.3+0.256 = 3.916 บาท

โซล่าเซลผลิตไฟฟ้าได้ 1,680 วัตต์ต่อวัน คิดเป็นเงินตามราคาค่าไฟฟ้าปัจจุบันจะเท่ากับ 6.579 บาท

ดังนั้น ใน 30 ปี ถ้าคุณใช้ไฟในส่วนที่โซล่าเซลผลิตได้ คุณต้องจ่ายค่าไฟฟ้า = 6.579บาท x  365วัน x 30 ปี เป็นเงิน 72,040.05 บาท

แต่ตัวเลขที่ต้องจ่าย  เป็นเงิน  72,040.05 บาท คุณต้องไม่ลืมว่าคิดบนราคาค่าไฟฟ้าและค่า FT ปัจจุบัน ซึ่งมีราคาปรับขึ้นเรื่อยมา และมีราคาปรับขึ้นเรื่อยๆ ตลอดไป (เว้นพวกเราจะยอมให้รัฐสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งรัฐคงจะต้องมีโปรโมชั่นค่าไฟถูกแน่ๆ เพื่อกระตุ้นให้คนยอมรับก่อนในเบื้องแรก)
ดังนั้นตัวเลขค่าใช้จ่ายจริงๆ ก็จะสูงกว่านี้อีกมาก ไม่เชื่อคุณลองย้อนกลับไปหาบิลราคาค่าไฟฟ้าย้อนหลังเอามาพิจารณาราคาค่าไฟของคุณดูให้ดีๆ ซิครับ จะเห็นราคาค่าไฟปรับขึ้นมาเรื่อยๆ เหมือนราคาทองเชียว

ดังนั้นถ้าคิดเล่นๆ ค่าไฟเฉลี่ยตลอด 30 ปี อยู่ที่ 6 บาท/หน่วย คุณอาจจะต้องจ่ายค่าไฟฟ้ารวมเป็นเงิน  110,376 บาท เห็นตัวเลขชัดๆ แบบนี้ คงได้คำตอบแล้วนะครับว่าใช้โซล่าเซลคุ้มค่าไหม

บทความโดย
ศักดิ์เพ็ชร เรืองแพ 
 
กรีนพาวเวอร์

ความคิดเห็น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ถ้าแผงโวล่าเซลมันถูกกว่านี้มากๆก็จะดี จะตัดสินใจซื้อมาติดวันพรุ่งนี้เลย บวกกำไรมากไปไหมนี่
www.rkatour.com กล่าวว่า
ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ แต่ก่อนจะทักจะทายมา ควรศึกษารายละเอียดให้รอบคอบและรู้จริงนะครับ เพราะแผงโซล่าเซลมีหลายเกรดหลายราคา เหมือนรถจีน ญี่ปุ่น และรถยุโรปประมาณนั้นแหละครับ ตอนนี้ราคาโซล่าเซลที่ร้านกรีนพาวเวอร์สั่งมาจำหน่าย ก็ปรับรดลาคาไปมากกว่า 30-50% แล้ว ในช่วง2-3 เดือนที่ผ่านมา ตอนนี้แผงใหญ่ๆ เช่นขนาด 120 วัตต์ ราคาเหลือประมาณ 6000 บาทเท่านั้น ทำให้อัตราคืนทุนเร็วกว่าเก่าอีกเกือบเท่าตัว หวังว่าคงจะได้รับแจ้งซื้อจากคุณจริงๆ จังๆ ในเร็วๆ นี้ นะครับ และช่วยระบุ IPที่โพสแนะนำนี้มาด้วยนะครับ ผมจะแถมค่าจัดส่งให้ด้วยเป็นกรณีพิเศษ ถือเป็นคำขอบคุณจากท่าน ที่สนใจในพลังงานทางเลือกจริงจัง หวังว่าคงไม่เขียนแค่สนุกๆ ให้ผมรอเก้อนะครับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
อยากทราบว่าถ้าติดตั้งแบบ เก็บพลังงานไฟฟ้าในสายส่ง แล้วให้มิเตอร์หมุนย้อนกลับ การไฟฟ้าจะยอมให้เราทำไหม
www.rkatour.com กล่าวว่า
เบื้องต้นให้คุณรู้ก่อนว่าระบบเชื่อมสายส่ง(ฟรี) นี้ไม่ใช่ระบบใหม่ มีใช้มานานเกิน 10 ปีแล้ว น่าจะประมาณ 15-18 ปี ผมจำปีที่ชัดเจนไม่ได้แล้ว เพียงแต่คนทั่วไปไม่รู้ และทางรัฐก็ไม่ได้ประชาสัมพันธ์เพิ่มเติม เพราะเขาประชาสัมพันธ์ไปก่อนหน้านี้ตั้งแต่ตอนอนุญาตแล้ว ดังนั้นถ้าคุณกังวล วิตก ไม่สบายใจ หรืออะไรก็ตาม ให้คุณไปสอบถามที่สำนักงานไฟฟ้าใกล้ๆ บ้าน เรื่องโครงการระบบฝากไฟกับการไฟฟ้าจากโซล่าเซล ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่รู้เช่นเดียวกับคุณ ก็บอกให้เขาไปค้นดูคำสั่งเก่าเมื่อประมาณ 15-18 ปีที่แล้วดูครับ
www.asathai.com กล่าวว่า
ถ้าเรากำลังใช้ไฟฟ้าตอนกลางวัน แล้วติดตั้งระบบโซลาเซลล์ ตอนกลางวันเหมือนกัน มีทั้งไฟฟ้าที่ เราผลิตได้แล้วฝาก กับไฟฟ้าที่เราใช้ มิเตอร์จะหมุนกลับไปกลับมา หรือว่า เราต้องให้การไฟฟ้า มาเปลี่ยนมิเตอร์ให้ แบบหมุนกลับได้สองทาง แล้วมิเตอร์ขนาด 5(15) แอมป์ ใช้ได้ไหม หรือว่าต้องใช้มิเตอร์ใหม่ พิเศษกว่า หรือขนาด 15 แอมป์แปร์ ขึ้นไป???
www.rkatour.com กล่าวว่า
อันนี้อย่าไปคิดให้ยุ่งยากเลยครับ ใช้มิเตอร์ตัวเดิมนั่นแหละครับ มันสามารถหมุนไปหน้าถอยหลังได้อยู่แล้วครับ คล้ายๆ เราเอาเงินฝากธนาคารยอดเงินก็เพิ่มพอถอนออกยอดเงินมันก็ลด ประมาณนั้นแหละครับ มิเตอร์ไฟฟ้าก็คล้ายๆ กัน มันเป็นเรื่องง่ายๆ ธรรมดาๆ นี่เอง เพียงแต่เราไม่คุ้นเคยกับมัน เลยฟังหรืออ่านพอบวกจินตนาการแล้วกลายเป็นเรื่องยุ่งยากไปซะเลย ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงการฝากไฟไว้กับการไฟฟ้าง่ายกว่าที่คุณคิดมากครับ แม้แต่การผลิตไฟฟ้าเพื่อขายไฟก็มีหลักการเดียวกัน
www.asathai.com กล่าวว่า
อันนี้ต้องยุ่งแน่ หากการไฟฟ้าไม่ยอม เพราะมิเตอร์กับเสาไฟเป็นสมบัติการไฟฟ้า ยังไงผมอย่างติดโซลาห์เซล แต่ว่าช่วยหาข้อมูลหรือลิงก์ที่จะไปคุยกับการไฟฟ้าให้หน่อยเรื่อง ระบบเชื่อมสายส่งฟรี เป็นอย่างไร ได้คุยกับช่างเปลี่ยนมิเตอร์ เค้าบอกให้ไปคุยกับนายเค้าอีกที เพราะต้องเป็นแรงดันสูงเท่านั้น ที่จะขายหรือฝากได้ แรงดันต่ำ ไม่สามารถนำพาขึ้นสายส่งได้ ผมก็ไม่แน่ใจ กลัวเค้ามาถอดมิเตอร์ออกเสียจะยุ่งไปใหญ่
www.rkatour.com กล่าวว่า
กรุณาไปติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าใกล้บ้านได้เลยครับ เพื่อความสบายใจของคุณเอง
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
การเชื่อมต่อระบบโดยใช้กริดคอนเน็ค

1. ผิดกฏหมายการใช้ไฟฟ้า เพราะยังไม่มีฏหมายฉบับรองรับว่าให้ทำได้ เช่น ฐานเหตุกระทำให้มิเตอร์ทำงานผิดปรกติ ไม่เช่นนั้นโรงงานไฟฟ้าเสียเงินค่าไฟฟ้าหลายล้านบาท การไฟฟ้าต้องสุญเสียหลายๆอย่าง ถ้าต้องการทำได้อย่างถูกกกหมายต้องทำเรื่องซื้อขาย แต่ว่า รัฐบาลปิดโครงการการซื้อขายโซลาร์เซลล์ไปตั้งแต่ 54
2.โซลาร์เซลล์ราคาถุกก็จริง30-60วัตต์ แต่ว่าการใช้งาน ยังต้องเพิงพิงแบตเตอร์รี่หรือหรือตัวกริดคอนเน็คเองเมื่อเทียบต่อวัตต์ราคาแผงแพงกว่าด้วย และยังใช้ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
www.rkatour.com กล่าวว่า
ถ้าคุณกลัว กังวล หรืออะไรก็ตามที่คุณไม่รู้ เกี่ยวกับการใช้โซล่าเซลเชื่อมต่อสายส่งในระบบการฝากไฟขึ้นสายส่ง กรุณาไปติดต่อที่สำนักงานการไฟฟ้าใกล้บ้านได้เลยครับ เพื่อความสบายใจของคุณเอง และได้รู้ข้อมูลที่เท็จจริงจากผู้รับผิดชอบโดยตรง ดีกว่าฟังผมคนเดียว
ชาติกุญชร กล่าวว่า
ถ้าคุณศักดิ์เพ็ชร มีสินค้าดี ๆ ยินดีนำมาทดลองใช้งานจริงให้ฟรีๆ เลยครับ แฮ่ะ ๆ
ใจจริงอยากจะติดสัก 3000 วัตต์ แต่ธนบัตรในกระเป๋าไม่เอื้ออำนวยครับ

ในกรณีที่จะติดตั้งทั้ง 2 ระบบ จะใช้อะไรตัดต่อระหว่างทั้ง 2 ระบบแบบอัตโนมัติมั่งครับ ไม่แน่ครับอนาคตอาจเพิ่มระบบสำรองไฟ และอินเวอร์เตอร์สำหรับใช้พลังงานจากแบตฯ ในเวลากลางคืน สัก 1500- 2000 w คงพอใช้งาน

คือถ้าไฟฟ้าหลักดับ ให้ระบบสำรองไฟทำงานอัตโนมัติ และถ้าระบบสำรองทำงาน จะมีไฟใหลเข้าสู่ระบบสายส่งหลักหรือเปล่า หรือว่าต้องเป็นอัตโนมือโดยใช้เบรคเกอตัดไฟ หรือว่าอย่างไรครับ ชักจะงง ๆ แล้วครับเนี่ย
www.rkatour.com กล่าวว่า
555 ขอบคุณครับ ตอนนี้ผมทดลองใช้มาเกิน 10 ปีจนเชื่อมั่นแล้วละครับ อีกอย่างราคาโซล่าเซลทุกวันนี้มันลดต่ำลงมามากจนเริ่มน่าสนใจมากขึ้น แถมคุณภาพยังดีกว่าสมัยก่อนมากด้วย ส่วนการจะเลือกระบบฝากสายส่งหรือระบบแบตก็อยู่ที่เรา ของผมใช้ 2 ระบบร่วมกันโดยใช้เบรกเกอร์เป็นตัวสับไฟฟ้าจากโซล่าเซลเข้าชาร์จแบตสำรองให้เต็มก่อนแล้วค่อยผลักขึ้นสายส่ง หากไฟดับก็ดึงไฟสำรองจากแบตมาใช้ ลงทุนแค่โซล่าเซลชุดเดียวแต่ใช้เบรกเกอร์เป็นตัวสับรางให้ใช้ไฟได้ทั้ง 2 ระบบ เพราะระบบแบต นานๆ ถึงจะได้ใช้ แต่ผมจะพยายามล้างแบตบ่อยๆ (ดึงไฟให้เกือบหมด) เพื่อเติมไฟใหม่ให้แบตได้ใช้งานบ้างและยืดอายุการใช้งาน
ชาติกุญชร กล่าวว่า
พึ่งไปหาแผงโพลี่หนี้น้ำท่วม 285 วัตต์มาได้ 2 แผง ในราคาเกินหมื่นไปนิดหนึ่ง ตามหา grid tie inverter 500 วัตต์ แต่หาตัวที่ราคาเหมาะสมไม่ได้ จึงเข้าไปหาที่อีเบย์ ไปได้ขนาด 1000 วัตต์มา 1 ตัว ในราคาถูกมาก (ถูกว่า 500 วัตต์ในบ้านเราอีก) แต่ดันลึมคิดค่าจัดส่งอีก 2600 (ส่ง FedEx) ค่าภาษีนำเข้าอีก 17 % แหม่...เซ็งเลยครับพี่น้อง 555
*** มายืนยันอีก 1 เสียงว่า ไม่ต้องอนุญาตจากการไฟฟ้าเพื่อติดตั้งระบบเชื่อมสายส่ง (นอกเสียจากว่าจะทำเป็นฟาร์มโซล่าเซลล์ เพื่อผลิตไฟขายคืนรัฐ-แต่บอกเขาไว้หน่อยก็ดีครับ กันหมากัด และเพื่อความสบายใจ)) เพราะแถวบ้านผมมีคนติดเหมือนกัน 285 วัตต์ จำนวน 12 แผง อินเวอร์เตอร์ 3000 วัตต์ ราคา แสนกว่าบาท

www.rkatour.com กล่าวว่า
ขอชื่นชมด้วยครับ ว่างๆ ก็ถ่ายรูปส่งมาที่เมล์ผมบ้างนะครับ เดี๋ยวจะลงเป็นสมาชิกคนไทยหัวใจสีเขียวให้ครับ
ชาติกุญชร กล่าวว่า
จัดส่งรูปทางอีเมล์แล้วครับ งานอาจไม่สวยและยังไม่เรียบร้อยครับ ยังเหลือเก็บงานอีก เพราะอินเวอร์เตอร์พึ่งลงจากเครื่องบินมาจากเมืองจีนได้ 3-4 วันนี้เองครับ แถมติดตั้งเสร็จแดดไม่ออกมา 2 วันแล้ว แหม่...คือมาเป็นตาหน่ายแท้ ๆ
www.rkatour.com กล่าวว่า
เข้าไปดูคลิกการติดตั้งโซล่าเซลเชื่อมต่อกับสายส่งได้ที่ http://www.youtube.com/watch?v=snSkbjCRlpw
www.rkatour.com กล่าวว่า
ขอบคุณคุณชาติกุญชรมากๆ ครับ ที่ส่งรูปมาให้ ตอนนี้ผมอัพขึ้นในสมาชิกโครงการบ้านสีเขียวแล้ว ถ้าต้องการปรับแต่งอะไรก็แจ้งไปได้นะครับ เข้าไปดูได้ที่ http://www.greenpower.9nha.com/greenhouseSutee.html
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
ที่บ้านใช้ไฟ 3 เฟส ต้องการติดตั้งแบบ grid tie ผมคิดว่าน่าจะต้องใช้ grid tie inverter แบบ 3 เฟส และต้องต่อเข้ากับตู้ Main Power โดยตรง ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจถูกต้องหรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า
อินเวอร์เตอร์ออนกริดขนาดเล็กของคุณรุ่น GTI 1000W ใช้แทนได้หรือป่าวครับทำไมราคาต่างกันจัง หรือว่าคุณภาพไม่ดี