จะเลือกอุปกรณ์โซล่าเซลอย่างไรดี ให้ใช้ได้นานๆ

ติดตั้งโซล่าเซลให้ได้มาตรฐาน โดยกรีนพาวเวอร์
 โซล่าเซล เป็นเทคโนโลยีการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่มีมานานมากแล้ว ความจริงมันไม่ใช่เรื่องลึกลับซับซ้อนประเภทวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีระดับสูงที่จับต้องหรือทำความเข้าใจไม่ได้ ยิ่งทุกวันนี้จะเห็นมีการติดตั้งโซล่าเซลเต็มไปหมด คนที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลที่มาตรฐานก็มักจะชื่นชมว่าระบบนี้ดีอย่างโน้น ประหยัดอย่างนี้ เพราะอะไรที่มาตรฐานมันก็จะมีปัญหาน้อยมาก 

ติดตั้งโซล่าเซล โดยกรีนพาวเวอร์
ตรงกันข้ามกับคนที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลไม่ได้มาตรฐาน ก็มักจะมีปัญหาจุกจิกชนิดแก้ไม่จบ แล้วก็มักจะตีโพยตีพายว่าโซล่าเซลไม่ดีเลยปัญหาเยอะมาก แต่การกล่าวโทษโซล่าเซลอย่างนี้ต้องบอกเลยว่าผิดประเด็นมากที่สุด เพราะความจริงที่ระบบโซล่าเซลติดตั้งแล้วมีปัญหา เกิดจาก 2-3 ปัจจัยเท่านั้นเอง คือ

1 ตัวเจ้าของเอง เพราะรู้ไม่จริงเลือกใช้อุปกรณ์ไม่เหมาะสม เน้นถูกที่สุดแทนที่จะเลือกคุณภาพที่มันมาตรฐาน ร้ายแรงกว่านั้นคือเลือกอุปกรณ์มาเชื่อมต่อเพื่อใช้งานแบบไม่สมดุลย์อย่างรุนแรง แถมยังไม่ศึกษาคู่มือเกี่ยวกับการใช้งานที่มีมาให้ อย่างนี้ยิ่งไม่ควรโทษโซล่าเซล แต่ต้องโทษคนซื้อโดยตรง

2 ใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน ใช้ผลิตภัณฑ์ผิดประเภท อันนี้ก็น่าหนักใจแทนเช่นกัน เพราะการเลือกของถูกที่สุด ย่อมไม่ได้ของดีที่สุดแน่นอน ส่วนจะใช้ได้มาตรฐานหรือต่ำกว่ามาตรฐาน ก็ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป ทุกวันนี้ความรู้เรื่องระบบโซล่าเซลเปิดกว้าง หาความรู้จากผู้รู้จริงได้ไม่ยากเลย ที่เจอบ่อยก็ตั้งแต่การเลือกใช้สายไฟผิดประเภทในระบบ การใช้แบตเตอรี่ผิดประเภทหรือน้อยมากไม่สมดุลย์กับโซล่าเซลที่ใส่เข้าไป หนักกว่านั้นแม้แต่โซล่าชารจ์เจอร์ก็ไม่มีหรือมีแต่แอมป์ต่ำกว่าระบบที่ติดตั้งมาก

ติดตั้งโซล่าเซล โดยกรีนพาวเวอร์

3 ช่างที่ติดตั้ง ถ้าช่างไม่เข้าใจระบบหรือไม่มีความชำนาญ อันนี้ก็แน่นอน ประสิทธิภาพของเครื่องไม้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทุกอย่างต้องนำมาติดตั้งหรือใช้งานให้เหมาะสมเท่านั้นจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงตามที่โรงงานกำหนด ดังนั้นการเลือกติดตั้งใช้งานโซล่าเซลก็ควรพึ่งพาช่างที่ชำนาญจะดีกว่า เพราะเป็นงานติดตั้งครั้งเดียวใช้งานกันนานๆ หลายสิบปี ไม่ต้องมารื้อซ่อมเปลี่ยนใหม่กันบ่อยๆ

ติดตั้งโซล่าเซล โดยกรีนพาวเวอร์

การคำนวณอุปกรณ์ในการติดตั้งชุดโซล่าเซล

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า โซล่าเซลเป็นแค่เครื่องมือเปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้าเท่านั้น มีโซล่าเซลมากก็ได้ไฟมาก มีแผงโซล่าเซลน้อยก็ได้ไฟน้อย พูดง่ายๆ คือ มีตังเยอะก็ใช้ไฟได้มาก มีตังน้อยก็ต้องใช้ประหยัดๆ ดังนั้นถามว่าเราจะใช้โซล่าเซลขนาดเท่าไรจำนวนกี่แผงดี เราต้องประเมินก่อนว่า เราใช้ไฟวันละเท่าไร มากน้อยกี่วัตต์  ถ้ามีเงินไม่จำกัดจะติดโซล่าเซลเท่าไรก็ได้ แต่ถ้าติดโซล่าเวลมากไปก็แค่เปลืองเงิน ติดน้อยไปก็มีไฟฟ้าไม่พอใช้ ง่ายๆ แค่นี้เอง

ติดตั้งโซล่าเซล โดยกรีนพาวเวอร์
การคำนวณขนาดของแผงโซล่าเซล เมื่อเรารู้ว่าเราใช้ไฟฟ้าวันละเท่าไร เราก็มาคำนวณขนาดของแผงโซล่าเซล  ไม่ต้องใช้สูตรต่างดาวที่ลึกลับ เอาง่ายๆ เลย ถ้าพื้นที่บ้านเราแดดแรง ก็ใช้ค่า 6-8 ชั่วโมงต่อวันที่โซล่าเซลผลิตไฟฟ้าได้เต็มที่ แต่ถ้าอยู่ในพื้นที่แดดไม่แรง หรือมีสิ่งกีดขวางมากเช่นมีตึกหรือต้นไม้บังทิศทางของแสงแดด ก็อาจจะลดชั่วโมงการผลิตไฟฟ้าลงเหลือแค่ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการใช้ไฟฟ้าวันละ 1 ยูนิต หรือ 1,000 วัตต์ เอาค่าจำนวนชั่วโมงที่โซล่าเซลผลิตไฟฟ้าเต็มที่ได้ไปหาร

 ก็จะได้ 1,000 วัตต์  / 8 ชั่วโมง  = 125 วัตต์/ชั่วโมง นั่นก็คือ เราต้องติดตั้งแผงโซล่าเวลอย่างน้อยขนาด 125 วัตต์ เราจึงจะได้ไฟฟ้าสูงสุด 1,000 วัตต์ ต่อวันเพื่อนำไปใช้งาน  แต่ข้อเท็จจริง มันไม่ได้เป๊ะขนาดนั้น ไฟฟ้ามีการสูญเสียหรือหายไปบางส่วน ทั้งในเรื่องของการเดินทางผ่านสายไฟ การแปลงไฟจาก DC เป็น AC หรือแม้แต่เป็นวันที่มีแสงแดดน้อย ฝนตกหนัก ฟ้าครึ้ม  เป็นต้น ดังนั้นเราจึงต้องเผื่อขนาดของแผงโซล่าเซลเพิ่มขึ้นไปอีกอย่างน้อย 30% เช่นใช้แผงขนาด 150 วัตต์แทน
แบตเตอรี่ในระบบโซล่าเซล โดยกรีนพาวเวอร์
การคำนวณขนาดของแบตเตอรี่ ติดตามมาถึงขั้นนี้ก็คงตั้งใจจะติดตั้งโซล่าเซลใช้งานจริงจัง แนะนำเลยว่าควรใช้แบตเตอรี่ชนิดดีพไซเคิลเท่านั้น เพราะแบตพวกนี้จ่ายไฟได้มากกว่าแบตรถยนต์หลายเท่า อายุการใช้งานก็ยาวกว่ากันมาก แต่ถ้ายังยืนยันจะใช้แบตรถยนต์เก่าก็ข้ามบทความนี้ไปได้เลยเพราะไม่มีประโยชน์อะไรที่ต้องศึกษา เนื่องจากมันไม่ได้มาตรฐานตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว การจะรักษาระบบให้ใช้งานได้จริงจังยาวๆ เลยไม่ต้องนำมาคุยกัน

การเลือกใช้จำนวนของแบตเตอรี่ในงานโซล่าเซล ถ้าเอาแบบง่ายสุดและไม่ผิดพลาดไม่ต้องคำนวณให้ปวดหัวก็คือ ใช้โซล่าเซลกี่วัตต์ก็ใช้แบตเตอรี่เท่านั้นแอมป์หรือมากกว่าวัตต์ของโซล่าเซลซักหน่อยก็จะดีมาก ถามว่าทำไมนะหรือ มาจากการคำนวณง่ายๆ ดังนี้ครับ เช่น

แผงโซล่าเซล ขนาด 150 วัตต์ 1 แผง มันจะให้ไฟฟ้าสูงสุดต่อวันประมาณ  150 w X 8 Hr  = 1,200 วัตต์
แบตเตอรี่ดีพไซเคิล 1 ลูก ขนาด  150 Ah มันจะเก็บพลังงานไฟฟ้าได้ 150 Ah X 12V = 1,800 วัตต์

แต่เนื่องจากแบตเตอรี่ไม่สามารถจ่ายไฟได้ 100% ถ้าทำอย่างนั้นก็ขายทิ้งได้เลยเพราะมันจะไม่สามารถเก้บไฟได้อีกแล้ว แบตดีพไวเคิลยี่ห้อดีๆ หน่อย สามารถจ่ายไฟได้มากถึง 80% แต่ถ้าใช้แบบเชฟแบตเตอรี่แนะนำว่าเราดึงไฟมาใช้เพียง 50-60% ก็พอ ถนอมแบตไว้ใช้งานหลายๆ ปี ดีกว่า ดังนั้น จากโจทย์ข้างบน แบตเตอรี่ดีพไวเคิลขนาด 150 แอมป์ จุไฟได้สูงสุด 1,800 วัตต์ ดังนั้นเราก็ควรนำมาใช้สูงสุดได้เพียง 1,080 วัตต์เท่านั้นเอง ดังนั้นเมื่อเราใช้ไฟฟ้าไปได้เพียง 1,080 วัตต์ วันต่อไปเราก็ชาร์จไฟเข้าไปได้เพียง 1,080 วัตต์นะครับ ไม่ใช่ 1,800 วัตต์ ตามขนาดความจุแบตเตอรี่ งงไหมละครับ ถ้างงละก็อ่านซ้ำและลองคำนวณตามดุหลายๆ รอบได้เลย

ติดตั้งโซล่าเซล โดยกรีนพาวเวอร์
เห็นไหมละครับ ขนาดใช้แบตเตอรี่ที่มีแอมป์รวมเท่ากับวัตต์ของโซล่าเซล ยังเกือบไม่พอจุไฟที่โซล่าเซลผลิตได้เลย  แต่ก็พอหยวนๆได้ เนื่องจากบ้านเราไม่ได้แดดจัดแรงเต็มทั้ง  8 ชั่วโมงตลอดทั้งปี มีบ้างแค่บางวันในบางเดือนเท่านั้นเอง

แล้วจะเกิดอะไรขึ้นละ ถ้าใส่แบตเตอรี่น้อยไปในวงจรติดตั้งโซล่าเซล  แน่นอนว่าระบบโซล่าเซลมาตรฐานก็ต้องมีโซล่าชาร์จเจอร์ ซึ่งจะแยกออกมาต่างหากหรือรวมใส่มาในกล่องเดียวกับอินเวอร์เตอร์ก็ไม่แปลก การเลือกใช้ขนาดของโซล่าชาร์จเจอร์ ก็ต้องเลือกให้มีแอมป์ของมันคูณกับโวลท์ที่ระบบของมันรองรับ ผมที่รวมมาได้จะต้องไม่น้อยกว่าวัตต์รวมของโซล่าเซล ไม่งั้นงานงอกในอนาคตอันใกล้ช่วงฤดูแดดแรงแน่ๆ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เตรียมหาเงินซื้อใหม่ไว้ได้เลย ซึ่งเรื่องโซล่าชาร์จได้แยกไปเขียนต่างหากอีก 1 ตอน ไปหาอ่านได้ในบทความก่อนหน้านี้  
ติดตั้งโซล่าเซล โดยกรีนพาวเวอร์
ดังนั้นคนที่ตั้งใจติดตั้งโซล่าเซลแล้วเสาะหาข้อมูลจนมาเจอบทความนี้ ก็ขอสรุปให้สั้นๆ เป็นแนวทางดังนี้ แล้วคุณจะปวดหัวกับงานโซล่าเซลของคุณน้อยมากหรือแทบไม่มีปัญหาเลย ยกเว้นคุณซื้อของไม่มีคุณภาพมา อย่างนั้นช่วยอะไรไม่ได้

1 โซล่าเซลมีหน้าที่แค่เปลี่ยนแสงแดดเป็นไฟฟ้า มันไม่สนใจหรอกคุณจะใช้พอหรือไม่ มีตังซื้อเยอะก็ได้ใช้ไฟฟ้ามาก  มีตังซื้อน้อยก็ต้องใช้ไฟฟ้าเท่าที่ผลิตได้

2 แบตเตอรี่ที่ใช้แนะนำเลยว่าต้องเป็นแบตเตอรี่ชนิดดีพไซเคิลเท่านั้น จะใส่มากเท่าไรก็ได้แต่เมื่อรวมแอมป์ทั้งหมดของแบตเตอรี่แล้วไม่ควรน้อยกว่าจำนวนวัตต์รวมของโซล่าเซล

3 การติดตั้งจะใช้งานยาวๆ นานๆ ไม่มีปัญหาจุกจิก ต้องใช้อุปกรณ์ที่มาตรฐาน รวมถึงสายไฟที่ต่อเชื่อมวงจรด้วย  ระบบโซล่าเซลเป็นไฟ DC มีแรงดันต่ำ หากไปนำสายไฟบ้านซึ่งเป็นสายที่ใช้กับไฟแรงดันสูงมาใช้เชื่อมต่อระบบก็ใช้ได้ แต่ไฟฟ้าที่ไหลผ่านมันก็สูญเสียไปเยอะเหมือนกัน ยิ่งต่อสายไฟยาวมากเท่าไร ไฟฟ้าที่โซล่าเซลผลิตได้ก็หายไปแปรผันตรงกับความยาวสายไฟ

กรีนพาวเวอร์ รับติดตั้งโซล่าเซลครบวงจร
ก็ขอให้มีความสุขกับการใช้พลังงานไฟฟ้าฟรี ที่ทุกเช้าเทวดานามพระอาทิตย์ท่านก็นำมาส่งให้ถึงบ้าน ถ้าต้องการจะติดตั้งโซล่าเซลแบบมาตรฐานคุณภาพดีใช้งานกันยาวๆ ถ้าติดตั้งโซล่าเวลแบบมาตรฐานตั้งแต่เริ่มแต่งงานสร้างบ้านหลังแรกสร้างเนื้อสร้างตัว จนลูกคลอดออกมาแล้วค่อยๆ เติบโตจนจบปริญาทำงานแล้วไปแต่งงานมีลูกมาเริ่มวงจรส่งหลานเรียนใหม่ แต่โซล่าเซลชุดเดิมก็ยังคงทำงานได้อย่างซื่อสัตย์ไว้ใจได้ แต่ราคาอาจจะแพงกว่าสินค้าราคาถูกบ้าง ก็ติดต่อสอบถามมาได้ที่ โทร. 084-625-9929 แต่ถ้าต้องการสินค้าคุณภาพดีแต่ราคาถูกมากๆ อันนี้สารภาพตรงๆ เราไม่มีจำหน่ายครับ

ติดตามสาระดีๆ อีกมากมายได้ที่ http://tourthai.online
เขียนโดย ศักดิ์เพ็ชร  เรืองแพ

ความคิดเห็น